A Life in Shadows
ภาพถ่ายความงดงามของหนังตะลุง ศิลปะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“หนังตะลุง” คือศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมอันหลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยกัน ซึ่ง คอนสแตนติน คอร์โซวิติส (Constantine Korsovitis) ช่างภาพชาวออสเตรเลียที่มีความหลงใหลในศิลปะแขนงนี้ ได้จัดงานเปิดตัวหนังสือภาพ “A Life in Shadows” ที่รวบรวมภาพถ่ายขณะที่ออกเดินทางไปบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวิถิชีวิตของบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงอันเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจัดนิทรรศการภาพถ่ายให้ได้ชมกันที่ ‘งานเทศกาลหุ่นโลก’ ครั้งที่ 27 (Harmony World Puppet Innovation 2024) ซึ่งจัดขึ้นที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Museum) ปทุมธานี
คอนสแตนติน คอร์โซวิติส ช่างภาพชาวออสเตรเลียผู้มีใจรักในการถ่ายภาพสารคดีผ่านบุคคล การเล่าเรื่อง และประสบการณ์ที่พบปะระหว่างช่างภาพและผู้ถูกถ่าย ด้วยเทคนิกการถ่ายภาพหลากหลายรูปแบบ ทั้งการถ่ายภาพแบบอนาล็อกที่ใช้ฟิล์มแบบดั้งเดิม รวมถึงการถ่ายภาพดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นช่างภาพที่มีผลงานจัดแสดงในแกลเลอรี พิพิธภัณฑ์ และเทศกาลภาพถ่ายต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 1998 และในปี 2012 ซึ่งเขาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการถ่ายภาพสารคดีจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์
เขาเริ่มสนใจในศิลปะหนังตะลุงตั้งแต่ปี 1999 เมื่อได้รับคำเชิญจากสำนักเลขาธิการวายังแห่งชาติอินโดนีเซีย (Indonesian National Wayang Secretariat) ให้เข้าร่วมบันทึกเทศกาลหุ่นกระบอกนานาชาติในจาการ์ตา โดยในปี 2001 คอนสแตนตินได้จัดแสดงผลงานครั้งแรกที่อินเดีย อินเตอร์เนชันแนล เซ็นเตอร์ (India International Centre) ในเมืองเดลี จากนั้นก็จัดแสดงอีกครั้งที่เทศกาลยูนิมา (Unima Festival) ที่เมืองเพิร์ธในปี 2010 และในปี 2016 ได้จัดแสดงภาพถ่ายที่พิพิธภัณฑ์รัฐกลันตัน (Kelantan State Museum) โกตาบารู ถัดมาที่ปี 2018 ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมไทย คอนสแตนตินได้จัดแสดงส่วนหนึ่งของผลงานที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ในกรุงเทพฯ
เรียกได้ว่าตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา คอนสแตนตินได้ถ่ายภาพและพูดคุยกับผู้คนมากมายจากศิลปะแขนงนี้ ไม่ว่าจะเป็น คนเชิดหุ่น ช่างทำหุ่น นักดนตรีในแต่ละประเทศ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะหนังตะลุง โดยคอนสแตนตินได้แรงบันดาลใจจากการได้ชมการแสดงการเชิดหุ่นหนังตะลุงในเทศกาลต่างๆและค่อยๆพัฒนางานสารคดีภาพถ่ายที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามของวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงมีชีวิตชีวา แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก็ตาม
“ในปี 1999 ผมได้มีโอกาสไปถ่ายรูปเทศกาลหุ่นเงานานาชาติที่เมืองจาการ์ตา ผมได้ดูการแสดงหุ่นเงาติดต่อกันถึงสามวัน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมอยากทำสารคดีเกี่ยวกับศิลปะการแสดงหุ่นเงานี้และอยากทำความเข้าใจในวิถีชีวิตของศิลปินเหล่านั้น ผมอยากถ่ายรูปคนเชิดหุ่นที่บ้านของพวกเขา แทนที่จะถ่ายตอนแสดงหรือในสตูดิโอแบบเดิมๆ และอยากถ่ายภาพพร้อมกับพูดคุยเพื่อทำความรู้จักพวกเขาให้ลึกซึ้งขึ้น อยากให้เห็นตัวตนจริงๆของพวกเขาที่ไม่ใช่แค่ในฐานะศิลปิน แต่ในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่ง และจากการที่ผมได้เดินทางสำรวจวิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ในหลากหลายประเทศ ก็พบว่าศิลปินแขนงนี้เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ความน่าค้นหา และมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก ผมจึงอยากให้ผลงานของผมสามารถสะท้อนถึงคุณค่าของศิลปะหนังตะลุงและความสำคัญของศิลปินกลุ่มนี้ที่มีความทุ่มเทอยู่ในจิตวิญญาณอย่างเต็มเปี่ยม” ~ คอนสแตนติน คอร์โซวิติส
A Life in Shadows จึงนับเป็นหนึ่งในผลงานที่ทรงคุ
งาน “A Life in Shadows” จะถูกจัดขึ้นอีกหนึ่งรอบที่ จักรพงษ์วิลล่า (Chakrabongse Villas) พระนคร กรุงเทพฯ ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ เวลา 16.00 น.